ข่าวสารและบทความ

PVC & PP – ผู้ร้ายใส่สูทในวงการสะสมการ์ดระยะยาว และฮีโร่ผู้มากอบกู้สถานการณ์

อุปกรณ์เสริม
สะสม
image-profile
โดย
Chawin Upara
วันที่
18 ธ.ค. 2023

สองวัสดุที่ใช้ผลิตอุปกรณ์เก็บการ์ดของเรามีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง

บทความนี้ผมขยายความจากที่เปิดประเด็นไว้เมื่อวันเสาร์ที่พูดถึง CardPreserver สินค้าใหม่จาก UltraPro ที่จะวางจำหน่ายในปีหน้า ใครยังไม่ได้อ่านลองแวะเข้าไปอ่านได้ที่นี่เลยครับ


ก่อนอื่นต้องเริ่มจากการเกริ่นนำถึงการเก็บการ์ดในระยะยาวสไตล์นักสะสมกันก่อนนะครับ การเก็บการ์ดกันเป็นหลักปี สิบปี หรือนานกว่านั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องบรรจุการ์ดของเราในอุปกรณ์ที่จะช่วยรักษาสภาพการ์ดของเราให้สมบูรณ์ในระยะยาว ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว สิ่งที่นักสะสมคำนึงถึงโดยทั่วไปอาจจะประกอบด้วย

  1. การป้องกันขีดข่วนบนพื้นผิว (ใส่ sleeve)
  2. การป้องกันการกระแทกและการงอ (ใส่ แฟ้ม toploader หรือกรอบรูปแบบต่าง ๆ)


แต่สิ่งหนึ่งที่อาจถูกมองข้ามได้อย่างง่ายดายคือวัสดุที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์เหล่านั้นนั่นเอง โดยปกติแล้วพลาสติกที่ใช้ในการผลิตสินค้าอย่าง sleeve ไส้แฟ้ม หรือ toploader จะถูกผลิตมาจากวัสดุสองชนิดหลัก ๆ ได้แก่ polyvinyl chloride (PVC) หรือ polypropylene (PP) ครับ


PVC เป็นพลาสติกที่มีความแข็งค่อนข้างมาก ดังนั้นในกระบวนการผลิตจำเป็นต้องเติมสารเติมแต่งเพื่อปรับให้วัสดุมีคุณสมบัติตามที่ต้องการ เช่น ให้มีความยืดหยุ่นที่มากขึ้น แต่เมื่อใช้งานในระยะยาว (มาก ๆ) พร้อมกับเงื่อนไขอื่น ๆ เช่น อุณภูมิห้องที่ค่อนข้างสูง การเก็บในสภาวะที่มีความชื้นสูง และการถูกกระทบด้วยแสง UV อยู่เรื่อย ๆ จะทำให้คลอไรด์และสารเติมแต่งที่เพิ่มเข้าไปเหล่านั้นค่อย ๆ ถูกปลดปล่อยออกมานั่นเอง คลอไรด์และสารเติมแต่งที่ถูกปล่อยออกมานี้จะสามารถไปเกาะบนผิวการ์ดได้ อาจจะอธิบายเป็นภาษาอย่างง่ายว่า “พลาสติกละลายไปติดการ์ด” ก็ได้ครับ และแน่นอนว่าการ์ดที่มีเคลือบโฮโลแกรมรูปแบบต่าง ๆ ก็จะได้รับความเสียหายมากกว่าการ์ดที่ไม่ได้เคลือบ เพราะว่าตัวคลอไรด์และสารเติมแต่งเหล่านี้จะไปเคลือบโฮโลแกรมอีกชั้นนึง ทำให้สีหมองลง เมื่อจับอาจจะรู้สึกมีชั้นลื่น ๆ มาเคลือบการ์ดของเราอยู่ และเมื่อเราพยายามลอกออกมาจากซองก็อาจจะมีโฮโลแกรมบางส่วนที่หลุดติดออกมาด้วย หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินเหตุการณ์นี้ในชื่อ “ซองคลุมการ์ดที่ดูดโฮโลแกรม” กันมาบ้างแล้ว ซึ่งอยู่คู่วงการการ์ดสะสมทุกรูปแบบมาอย่างยาวนาน และในวงการสะสมการ์ดรูปภาพดารา (photocard) ของทางฝั่งเกาหลีจะมีปัญหานี้ให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ เพราะว่าการ์ดเป็นโฮโลแกรมขนาดใหญ่ทั้งใบนั่นเอง สาเหตุที่วัสดุประเภทนี้ยังวนเวียนอยู่ในวงการการ์ดสะสมอยู่ได้เพราะว่ามันมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่านั่นเองครับ


PP เป็นพลาสติกที่จะไม่มีการปล่อยสารออกมาเหมือนกับ PVC ทำให้มีความปลอดภัยสำหรับใช้งานได้ถึงขั้นทำบรรจุภัณฑ์สำหรับใส่อาหารได้เลยครับ ตัว PP นี้ไม่ได้เป็นวัสดุที่ใหม่เลยนะครับ ในปีค.ศ. 1989 บริษัท UltraPro เนี่ยแหละครับที่ได้ผลิตไส้แฟ้มที่ทำจาก PP ออกมาเป็นบริษัทแรกในโลกเพื่อแก้ไขปัญหาการ์ดกีฬาในยุคก่อนที่เมื่อเก็บไปหลายปีเข้าการ์ดเริ่มเหลืองหมอง ซึ่งในตอนนั้นถือว่าประสบความสำเร็จมากเพราะทำให้นักสะสมสามารถเก็บการ์ดในระยะยาวได้โดยไม่ต้องกังวลว่าการ์ดจะเสียหายอีกต่อไป และที่น่าสนใจมากของเรื่องนี้คือในตอนนั้น sleeve ยังคงทำมาจาก PVC อยู่ครับ หลังจากที่การ์ดเกม Magic: The Gathering วางขายในปี 1993 ตลาดการ์ดสะสมก็ได้เข้าสู่ยุคใหม่ที่มีคนสนใจมากขึ้น และในงานเกมแห่งหนึ่ง พนักงานของ UltraPro ก็ได้ทำการ “ตัด” ไส้แฟ้มออกมาเป็นซองเดี่ยว ๆ แจกให้กับผู้เข้าร่วมงานเพื่อใส่การ์ดที่เปิดได้ในงานนั้นนั่นเอง เหตุการณ์นี้จึงนำทางให้ UltraPro เริ่มผลิต sleeve ที่ทำมาจาก PP เหมือนกับไส้แฟ้มตามออกมา


ในปัจจุบัน sleeve และไส้แฟ้มจากบริษัทที่มีชื่อทั้งหลายล้วนทำมาจาก PP เกือบทั้งหมด โดยบริษัทอาจจะใช้คำโฆษณาว่า “archival safe”, “PVC-free”, “acid-free”, “made from polypropylene” หรือมีสัญลักษณ์ recycle หมายเลข 5 (รูปประกอบบทความ) ซึ่งทุกคนสามารถนำมาใช้งานในระยะยาวได้อย่างปลอดภัย แต่สำหรับซองใสหรือไส้แฟ้มราคาถูก ๆ ไม่มียี่ห้อ เราอาจจะไม่ทราบว่าเขาใช้วัสดุอะไรในการผลิตกันแน่ เพราะว่า PVC คือวัสดุที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า PP นั่นเอง


ทีนี้มาถึงเรื่องของ toploader กันบ้างครับ toploader น่าจะเป็นกรอบแข็งที่ใช้กันมากที่สุดแล้ว เนื่องจากมักใช้ในการจัดส่งการ์ดนั่นเองครับ และนอกจากนั้นยังมีพวก semi-rigid หรือ Card Saver ที่ถือว่าเป็นมาตรฐานในการส่งการ์ดไปเกรดกับบริษัทในต่างประเทศ อุปกรณ์ทั้งสองประเภทนี้ล้วนทำมาจาก PVC ทั้งสิ้นครับ เพราะต้องการความแข็งแรง ดังนั้นจากที่ผมได้เล่ามาด้านบนก็คงจะเห็นภาพกันแล้วว่าอุปกรณ์ทั้งสองประเภทนี้ไม่เหมาะที่จะใช้เก็บการ์ดในระยะยาว แต่แล้วเราจะสามารถใช้มันอย่างปลอดภัยได้อย่างไร คำตอบก็คือเอาการ์ดเราใส่ sleeve ที่ทำมาจาก PP ก่อนใส่ toploader หรือ semi-rigid นั่นเองครับ อาจจะใส่ sleeve สองชั้นเพื่อความสบายใจ (ป้องกันการสารซึมเข้าจากด้านที่เปิด) ไปเลยก็ยังได้ครับ เท่านี้เราก็ไม่ต้องกังวลว่าจะมีสารอะไรปลดปล่อยออกมาจาก PVC มาโดนการ์ดของเรา ทั้งนี้ผมต้องย้ำอีกทีว่ากระบวนการที่สารภายใน PVC จะถูกปลดปล่อยออกมานั้นไม่ได้เร็วเลยครับ ดังนั้น นอกจากการเก็บระยะยาวแล้ว การใช้งาน toploader หรือ semi-rigid เพื่อการขนส่ง หรือเก็บในระยะเวลาที่ไม่นานเกินไปภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็น่าจะปลอดภัยเลยแหละครับ ยิ่งเราใส่ sleeve กันก่อนอยู่แล้ว ดังนั้นทุกคนแทบจะไม่ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอะไรเลยครับ และแน่นอน สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการ์ดของเราคือใช้อุปกรณ์ที่ไม่มี PVC แต่แรกในส่วนที่สามารถทำได้นั่นเองครับ


สรุป

  • อุปกรณ์ที่ทำมาจาก PVC เป็นอันตรายต่อการ์ดในระยะยาว (หลักปี)
  • Toploader น่าจะทั้งหมดทำมาจาก PVC
  • ใช้อุปกรณ์ที่ทำมาจาก PP แทน โดยเฉพาะเมื่อต้องการเก็บในระยะยาว เช่น sleeve หรือไส้แฟ้ม


ใครเคยมีประสบการณ์ถูกดูดโฮโลแกรมบ้าง มาแชร์ให้ฟังกันได้นะครับ และหากใครมีความรู้ทางด้านเคมีหรือวัสดุศาสตร์มาร่วมกันแชร์เพิ่มเติมน่าจะยิ่งสนุกเลยครับ


แสดงความคิดเห็น

profile

บทความล่าสุดโดย Chawin Upara

image-profile
บทสัมภาษณ์ - วงการการ์ดเกรดไทย
ปัจจุบันวงการการ์ดเกรดหน้าตาเป็นอย่างไร? อนาคตจะไปทางไหน? มาติดตามการสัมภาษณ์จากทั้งสองท่านผู้เชี่ยวชาญกันครับ
1 มี.ค. 2024
image-profile
Dragon Shield Fortress Card Drawers – ลูกครึ่งแฟ้มกับกล่องใส่การ์ด
กล่องเก็บการ์ดที่พรางตัวไปกับแฟ้ม
9 ก.พ. 2024
image-profile
Last-prize.com - ของเด็ดผู้เล่นการ์ดโปเกมอน
เมื่อการเปิดกล้องเล่นการ์ดมีอะไรมากกว่าแค่เปิดกล้องเล่นการ์ด
20 ม.ค. 2024
image-profile
ประวัติศาสตร์กว่า 1,400 ปีของการ์ดเกม โดย National Geographic
เมื่อการ์ดเกมมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมาขนาดนี้ ก็อดจินตนาการไม่ได้เลยว่าอีก 1,000 ปีข้างหน้ามันจะเป็นอย่างไร
27 ธ.ค. 2023
image-profile
UltraPro CardPreserver – อุปกรณ์รักษาการ์ดชิ้นใหม่ที่น่าจับตามอง
กำเนิดลูกครึ่ง sleeve กับ toploader
18 ธ.ค. 2023

แท็กยอดนิยม

โปเกมอนเทรดดิ้งการ์ดเกม
เด็คลิสต์
TCG Thailand
Patch Notes
อุปกรณ์เสริม
สะสม
One Piece Card Game
อื่น ๆ
Battle of Talingchan
ข่าวสาร
Grading
logo

เรามุ่งมั่นที่จะผลักดันวงการการ์ดเกมประเทศไทยให้เติบโตและพัฒนาไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด

หมวดหมู่ทั้งหมด

ข่าวสารและโปรโมชัน